ห่วงชูชีพ อุปกรณ์สำหรับช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำในยามฉุกเฉิน เป็นตัวช่วยในการลอยตัว แถมยังลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำได้อีกด้วย การใช้งานก็ทำได้ง่าย เข้าถึงผู้ประสบภัยได้รวดเร็ว เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความปลอดภัยทั้งผู้ช่วยเหลือและผู้ประสบภัยกันทั้งสองฝั่ง เพราะฉะนั้นสถานบริการทางน้ำไม่ว่าจะเป็น สระน้ำ สวนน้ำ ท่าเรือ เรือโดยสาร เรือส่วนตัว และพื้นที่อื่นๆ ที่มีการจัดกิจกรรมทางน้ำ ควรมีการจัดเตรียมห่วงชูชีพอย่างถูกต้องในจุดต่างๆ เพื่อให้มีมาตรฐานและความปลอดภัยยิ่งขึ้น ผู้ใช้บริการจะได้สามารถเข้าถึงได้ง่าย นำไปใช้งานได้ทันทีในสถานการณ์ฉุกเฉิน
สำหรับวันนี้เราจะมาพูดคุยในเรื่องของห่วงชูชีพกับการใช้งานทางทะเลและบนเรือ ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานของห่วงชูชีพเหล่านี้จะต้องมีการติดตั้งไฟเพื่อส่องสว่างในเวลากลางคืน และต้องมีเชือกผูกเชื่อมต่อระหว่างห่วงกับเรือเพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยขึ้นมาบนเรือได้อย่างปลอดภัย สำหรับพื้นที่ในการติดตั้งมักจะติดบริเวณใกล้น้ำมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นขอบข้างเรือ ท้ายเรือ บันไดเรือ ไปจนถึงบริเวณดาดฟ้าที่เรือที่เป็นพื้นที่โปร่ง สามารถหยิบใช้งานได้สะดวกและทันเวลา โดยหลักๆแล้วนั้น ห่วงชูชีพจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ห่วงชูชีพแบบวงแหวน
ห่วงชูชีพแบบวงแหวน เป็นลักษณะที่เราพบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยห่วงชูชีพประเภทนี้ก็จะแบ่งย่อยออกมาได้หลายแบบ เช่น แบบอัดโฟมพอลิยูรีเทน และแบบไม่อัดโฟม ในบางรุ่นอาจมีเทปสะท้อนแสงแต่ในบางรุ่นอาจไม่มี ซึ่งหากจะวัดกันที่มาตรฐาน ห่วงชูชีพที่ดีควรมีมาตรฐาน SOLAS/MED หรือมีการรับรองมาตรฐาน USCG/SOLAS โดยห่วงชูชีพประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วจะทำจากโพลีเอทิลีน (PE) และมักจะมาในสีส้ม หรือสีแดง ซึ่งทาง Lalizas ก็จะมีห่วงชูชีพแบบวงแหวนหลายๆตัวเลือก โดยที่เป็นที่นิยมในหมู่คนไทยมากที่สุดจะเป็นห่วงชูชีพขนาดเล็ก
2. ห่วงชูชีพทรงเกือกม้า
ห่วงชูชีพทรงเกือกม้า คือห่วงชูชีพประเภทหนึ่ง ซึ่งมีหน้าตาคล้ายกับเกือกม้าตามชื่อของมัน ลักษณะเด่นของห่วงชนิดนี้คือจะไม่เป็นวงกลมเหมือนห่วงแบบทั่วไป ทำให้ผู้ประสบภัยสามารถนำห่วงมาคล้องเข้าทางด้านหลังซึ่งจะเข้ากับสรีระได้อย่างลงตัว ทำให้คนบนฝั่งหรือบนเรือดึงเชือกเพื่อช่วยชีวิตได้เลยทันที นับเป็นห่วงชูชีพอีกหนึ่งชนิดที่กำลังได้รับความนิยมในตอนนี้
ห่วงชูชีพทรงเกือกม้าของ Lalizas มีให้เลือกด้วยกัน 2 แบบ
- ห่วงชูชีพทรงเกือกม้า รุ่น BASIC I ที่วัสดุทำจากผ้าโพลีเอสเตอร์ผสมกับวัสดุ PVC ในส่วนด้านหลัง โดยสีของผ้าจะไม่เพี้ยนเมื่อโดนน้ำทะเล และแสงแดดทำให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน
- ห่วงชูชีพทรงเกือกม้า รุ่น Quick RD ที่ทำจากวัสดุ PVC ล้วน ซึ่งจะแห้งไวกว่าแบบผ้า และดูแลรักษาได้ง่ายกว่า มีคุณสมบัติกันน้ำ กันแสงแดด เพื่อให้มีคุณภาพการใช้งานที่ยาวนานในสภาพแวดล้อมทางทะเล
ประโยชน์ของห่วงชูชีพและวิธีการใช้งาน
เนื่องจากห่วงชูชีพถูกออกแบบมาเพื่อเป็นอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ประโยชน์ของมันจึงไม่ได้มีแค่การใช้งานตอนเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินเท่านั้น เพราะเราอาจใช้ห่วงชูชีพเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยพยุงตัวในหลายๆเหตุการณ์ได้ เช่น ตอนดำน้ำแบบสนอร์เกิลลิ่งหรือการดำผิวน้ำ เราอาจใช้ห่วงชูชีพเพื่อช่วยพยุงตัวระหว่างพักเหนื่อยขณะอยู่ในน้ำหรือในจังหวะที่มีคลื่นลมแรงเพื่อลดอาการเหนื่อยล้า หรือหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เราอาจโยนมันเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุและลากกลับเข้าฝั่งหรือขึ้นเรือก็ทำได้ไม่ยาก
วิธีการใช้ห่วงชูชีพที่ถูกต้อง หากเป็นห่วงชูชีพที่มีมาตรฐานก็มักจะมีเชือกผูกติดเอาไว้เพื่อให้ง่ายต่อการช่วยเหลือ เราควรจับเชือกให้มั่นและทำการโยนห่วงชูชีพไปยังบริเวณที่ผู้ประสบภัยอยู่ วิธีการใช้งานห่วงชูชีพที่ถูกต้องคือโยนห่วงให้ไกลกว่าจุดที่ต้องการอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันตัวห่วงกระแทกกับผู้ประสบภัยจนอาจทำให้บาดเจ็บหรือหมดสติได้ เมื่อถึงตำแหน่งที่ต้องการแล้วจึงค่อยๆ ดึงกลับมาบริเวณที่ผู้ประสบภัยอยู่ หลังจากเห็นว่าอีกฝั่งจับห่วงได้อย่างมั่นคงก็ค่อยๆ ทำการดึงกลับเข้าฝั่งอย่างช้าๆ และปลอดภัย
มาตรฐานของห่วงชูชีพ
ห่วงชูชีพที่มีมาตรฐานจะต้องได้รับการรับรองจากมาตรฐาน SOLAS ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ออกโดย International Maritime Organization (IMO) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของชีวิตบนทะเล ซึ่งครอบคลุมถึงการออกแบบ, การสร้าง, อุปกรณ์ของภายในเรือ, รวมทั้งการดำเนินการและการฝึกอบรมของลูกเรือเพื่อให้แน่ใจว่าการเดินเรือเป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด โดยคุณสมบัติของห่วงชูชีพที่ได้มาตรฐานจะมีดังนี้:
- ห่วงชูชีพควรมีสีสันสดใส เพื่อให้ผู้ประสบเหตุและผู้ช่วยเหลือมองเห็นได้จากระยะไกล ซึ่งสีที่ใช้เป็นหลักคือสีส้ม เพราะเป็นสีที่ตัดกับสีน้ำทะเล และท้องฟ้า และสามารถมองเห็นได้ง่ายทั้งเวลากลางวันและกลางคืน อีกทั้งยังเป็นสีที่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลก
- มีเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอกไม่เกิน 800 มม. และเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในอย่างน้อย 400 มม.
- ต้องทำจากวัสดุที่แข็งแรง น้ำหนักเบา ลอยน้ำได้ ไม่ซีดจาง และไม่แตกหัก หรือขึ้นรา ซึ่งห่วงชูชีพส่วนใหญ่จะทำจากโฟมโพลีสไตรีน โฟมยาง หรือโฟมสังเคราะห์อื่นๆ ที่ไม่ดูดซับน้ำ
- สามารถรองรับน้ำหนักของเหล็กอย่างน้อย 14.5 กิโลกรัม ในน้ำจืด ได้ถึง 24 ชั่วโมง
- มีน้ำหนักระหว่าง 2.5 กก. ถึง 6 กก.
- มีเทปสะท้อนแสงติดบริเวณโดยรอบของห่วงชูชีพเพื่อการมองเห็นและระบุตำแหน่งได้ดีขึ้นในสภาวะแสงน้อย
อุปกรณ์เสริมสำหรับห่วงชูชีพ
หากมีห่วงชูชีพแล้วก็ควรจะมีอุปกรณ์เสริมที่จำเป็นในการใช้ห่วงชูชีพด้วย ซึ่งก็จะมีหลายๆอย่างด้วยกันดังนี้
1. เทปสะท้อนแสง
ในห่วงชูชีพบางแบบจะมีเทปสะท้อนแสงแปะมาด้วยเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดในตอนกลางคืน ซึ่งโดยปกติจะแปะอยู่ 4 จุดบนห่วงชูชีพในระยะห่างที่เท่ากัน
2. เชือกลอยน้ำ
เชือกลอยน้ำ จำเป็นจะต้องติดอยู่กับห่วงชูชีพเพื่อให้สามารถดึงห่วงกลับมาได้เวลาช่วยเหลือผู้ประสบภัยหรือเวลาต้องดึงกลับมาโยนใหม่ให้ผู้ประสบภัย โดยเชือกจะต้องยาวอย่างน้อย 30 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มม. และสามารถทนต่อแรงตึงขั้นต่ำ 5 KN เพื่อไม่ให้มีการขาดขณะใช้งาน ซึ่งเชือกควรจะมีสีสันสดใส เช่นสีส้ม เพื่อที่จะทำให้สามารถมองเห็น และหยิบจับห่วงชูชีพได้ง่ายขึ้น โดยเชือกพวกนี้ส่วนใหญ่จะผลิตมาจาก พอลิเอทิลีน และทาง Lalizas เองก็มีเชือกลอยน้ำยาว 30 เมตรมาให้เป็นหนึ่งตัวเลือก
3. ไฟติดห่วงชูชีพ
ไฟสำหรับติดห่วงชูชีพ จะมีหลายประเภทมาก ซึ่งเราสามารถเลือกแบบได้ตามการใช้งานของเรา เช่นไฟติดห่วงชูชีพที่กันระเบิดได้ซึ่งเหมาะกับใช้ในสถานที่ที่มีสงครามอยู่ หรือไฟติดห่วงชูชีพแบบที่มีความสว่างสูง แต่ใช้ได้เพียง 2 ชั่วโมงสำหรับช่วยเหลือคนตกน้ำ โดยคุณสมบัติของไฟติดห่วงชูชีพไฟติดห่วงชูชีพที่มีมาตรฐานมีดังนี้
1. ไฟจะต้องไม่ดับเมื่อโดนน้ำ
2. ไฟต้องเป็นสีขาวและสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องด้วยแสงที่สว่างอย่างน้อย 2 cd ในทุกทิศทาง หรือกะพริบ ด้วยความเร็วอย่างน้อย 50 ครั้งต่อนาทีและไม่เกิน 70 ครั้งต่อนาที พร้อมความสว่างที่มีประสิทธิภาพ
3. ไฟจะต้องมีแหล่งพลังงานที่สามารถใช้ได้นานไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
4. ไฟจะต้องผ่านการทดสอบโดยการโยนลงน้ำจากความสูงอย่างน้อย 30 เมตร แล้วไม่มีการทำงานผิดปกติจากแรงกระแทก
ไฟติดห่วงชูชีพทั้งหมดของ Lalizas นั้นได้รับการรับรองมาตรฐาน และมีคุณสมบัติในการกินไฟน้อย โดยไฟติดห่วงชูชีพรุ่น STELLA จะมีคุณสมบัติพิเศษในการลอยตัว และพลิกตัวบนน้ำได้อีกด้วย
5. ชุดติดตั้งห่วงชูชีพ
หากเรามีห่วงชูชีพแล้ว เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะมีชุดติดตั้งห่วงชูชีพ เพื่อที่จะสามารถติดห่วงชูชีพไว้บนเรือตามจุดที่เราต้องการได้ โดยจุดที่เหมาะสำหรับติดตั้งห่วงชูชีพมากที่สุดคือบริเวณที่ใกล้น้ำมากที่สุด เพื่อที่จะหยิบใช้งานได้สะดวกและทันเวลา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะติดตั้งที่ราวเรือ
วิธีติดตั้งห่วงชูชีพบนเรือ
ในการติดตั้งห่วงชูชีพเราจะต้องติดตั้งในที่ที่มองเห็นได้ชัดเจนและสามารถเข้าถึงได้ง่ายเวลาจะใช้งาน โดยควรจะอยู่ตรงด้านข้างทั้ง 2 ของเรือ ท้ายเรือ บันไดนำร่อง หรือ ตรงทางเดินบนดาดฟ้าเรือ โดยจะมี 3 วิธีในการติดตั้งห่วงชูชีพ นั้นก็คือ ติดตั้งบนเสา บนราวเรือ หรือยึดเข้ากับผนังของเรือ ซึ่งชุดสำหรับติดตั้งห่วงชูชีพ อาจจะมาในแบบตะขอ ชั้นวาง ที่หนีบ ขายึด หรืออุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่ทำมาจากเหล็ก พลาสติกก็ได้
การตรวจสภาพห่วงชูชีพ
ในการตรวจสภาพห่วงชูชีพ เราจำเป็นจะต้องตรวจสภาพห่วงชูชีพทุกครั้งหลังใช้งาน นี้ก็เพื่อตรวจสอบจำนวนของห่วงชูชีพไปด้วย โดยชุดติดตั้งของห่วงชูชีพ จะต้องอยู่ในสภาพที่ดี พร้อมใช้งาน ไม่มีรอยแตกหักหรือหลุด ส่วนห่วงชูชีพควรอยู่ในสภาพที่ดี ไม่มีน้ำซึม ซึ่งเราอาจจะเช็คโดยการชั่งน้ำหนักห่วงชูชีพก็ได้ ตัวเทปสะท้อนแสงของตัวห่วงชูชีพจะต้องสะอาด ติดแน่น และเชือกลอยน้ำที่ติดกับห่วงชูชีพจะต้องไม่บาง หลุดลุ่ย มีปม หรือ มีจุดที่เสื่อมสภาพ และถูกจัดเก็บไว้เรียบร้อย ส่วนไฟติดห่วงชูชีพจะต้องถูกตรวจเช็คเสมอ โดยหลังจากตรวจสอบทั้งหมดนี้จะต้องมีการบันทึกข้อมูลไว้เสมอ
ข้อกำหนดของห่วงชูชีพในเรือแต่ละประเภท
ตามข้อกำหนดแล้ว จำนวนห่วงชูชีพบนเรือจะแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับประเภท ขนาดของเรือ และกฎระเบียบในพื้นที่นั้นๆ โดยจะมีองค์การการเดินเรือระหว่างประเทศ (IMO) ที่จะให้แนวทางผ่านอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล (SOLAS) โดยจะมีดังนี้:
1. เรือพาณิชย์และเรือโดยสาร
ตามข้อกำหนดของ SOLAS ได้กำหนดไว้ว่าเรือทุกลำต้องมีห่วงชูชีพอย่างน้อยหนึ่งห่วงต่อลูกเรือ 25 คน โดยห่วงชูชีพจะต้องติดตั้งไฟติดห่วงชูชีพอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของที่มี และต้องมีสัญญาณควันติดกับห่วงชูชีพอย่างน้อย 2 อัน ห่วงชูชีพจะติดอยู่บนดาดฟ้าข้างเรือทั้ง 2 ด้าน และ ท้ายเรืออย่างน้อย 1 อัน ซึ่งห่วงชูชีพแต่ละอันจะต้องมีเครื่องหมายตัวพิมพ์ใหญ่ของอักษรละตินพร้อมชื่อเรือที่ขนส่งและท่าเรือที่จดทะเบียนของเรือ นอกจากนี้ก็ยังมีการกำหนดจำนวนขั้นต่ำของห่วงชูชีพบนเรือประเภทนี้เช่นกัน ดังนี้:
2. เรือสำราญและเรือเล็ก
สำหรับเรือขนาดเล็ก เช่น เรือสำราญ ข้อกำหนดมักจะไม่ค่อยเข้มงวดเท่าเรือพาณิชย์และเรือโดยสาร และจำนวนห่วงชูชีพที่จะต้องมีก็จะแตกต่างกันไป ซึ่งส่วนใหญ่เรือที่ยาว 5 เมตร จำเป็นต้องมีชูชีพอย่างน้อยหนึ่งอัน และเรือที่ยาวเกินนี้อาจจำเป็นต้องมีมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาด และกฎระเบียบ
3. เรือส่วนตัว
เรือส่วนตัว เช่น เจ็ตสกี โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องมีห่วงชูชีพ เนื่องด้วยการออกแบบ และลักษณะการใช้ แต่ก็จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคล เช่น เสื้อชูชีพ/ชุดลอยตัว
4. เรือประมง
เรือประมงมักจะมีข้อกำหนดให้มีห่วงชูชีพ โดยจะขึ้นอยู่กับความยาวของเรือและจำนวนลูกเรือ ข้อกำหนดอาจเข้มงวดขึ้นหากเป็นเรือที่ออกห่างจากชายฝั่ง หรือต้องเจอคลื่นแรงบ่อยๆ
นอกจากห่วงชูชีพแล้วก็ยังมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตแบบอื่นอีกมากมาย ซึ่งวันนี้ทาง GTM MARINE ก็มีตัวเลือกของอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่พกพาง่ายกว่าห่วงชูชีพมาเสนอ นั้นก็คือ LifeLink โดยLifeLink จะมี 2 แบบ คือแบบเชือกโยนที่พกพาง่าย กับแบบสลิงสำหรับติดตั้งไว้ที่ท้ายเรือ โดย Lifelink พวกนี้จะมีขนาดที่เล็กและติดตั้งได้ง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม
สิ่งสำคัญของห่วงชูชีพไม่ได้มีเพียงแต่การซื้อห่วงที่ตรงตามมาตรฐานเท่านั้น แต่ยังต้องแน่ใจว่าห่วงชูชีพได้รับการตรวจสภาพอย่างเหมาะสม และถูกติดตั้งในจุดที่เข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งลูกเรือควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้งาน หรือได้รับการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเอาชีวิตรอดในกรณีฉุกเฉินได้ และเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัย เราควรปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดโดยหน่วยงานทางทะเลในพื้นที่ หรือแนวทางอยู่เสมอ แล้วถ้าหากคุณมีข้อสงสัย หรือสนใจในสินค้าต่างๆของเรา คุณสามารถทักมาสอบถามได้ที่ Line: @gtmmarine หรือแวะมาดูสินค้าได้ที่ Lalizas Thailand และ GTM Marine Phuket