เสื้อชูชีพพองลม คือหนึ่งในตัวเลือกของอุปกรณ์ลอยตัวส่วนบุคคลที่เราใช้เพื่อทำให้ลอยตัวในน้ำ โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเห็นคนใช้เสื้อชูชีพแบบโฟมได้ทั่วไป ในขณะที่เรามักจะไม่ค่อยได้เห็นคนใช้เสื้อชูชีพพองลม เพราะเสื้อชูชีพพองลมนั้นมีราคาที่สูง มีส่วนประกอบเยอะ อีกทั้งยังต้องมีการบำรุงรักษาที่ยุ่งยากกว่าเสื้อชูชีพแบบโฟม ถึงอย่างไรก็ตามเสื้อชูชีพพองลมก็มีข้อดีอยู่มากมายเช่นกัน และมักจะถูกใช้โดยนักกีฬาทางน้ำ หรือกลุ่มคนที่มีเรือส่วนตัว เราสามารถดูข้อแตกต่างของเสื้อชูชีพทั้ง 2 แบบได้ดังนี้

ตารางเปรียบเทียบ เสื้อชูชีพพองลม

ประเภทของเสื้อชูชีพพองลม จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. เสื้อชูชีพพองลมแบบ Manual – เสื้อชูชีพที่จะต้องกระตุกเชือกที่ติดกับห่วงชูชีพเพื่อพองลมด้วยตัวเอง ทำให้เป็นเสื้อชูชีพที่ต้องใช้สติในขณะที่จะใช้งาน จึงไม่เหมาะกับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น และผู้ใช้จะต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไปเท่านั้น
  2. เสื้อชูชีพพองลมแบบ Auto – เสื้อชูชีพที่สามารถกระตุกเชือกเพื่อพองลมเหมือนกับแบบ Manual แต่จะสามารถพองลมด้วยตัวเองเมื่อเสื้อชูชีพโดนน้ำ หรือความชื้น ซึ่งเป็นแบบที่สะดวกสบาย และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก 

มาตรฐานของเสื้อชูชีพแบบพองลม 

มาตรฐานของเสื้อชูชีพพองลมจะแบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน ได้แก่

  1. มาตรฐาน ISO – เป็นมาตรฐานทั่วไป ที่มักจะใช้กับเรือทั่วไป เช่นเรือส่วนตัว เรือประมง เจ็ตสกี ฯลฯ ซึ่งตัวเสื้อชูชีพจะมีแรงลอยตัวตั้งแต่ 50 นิวตันขึ้นไป และจะเป็นแบบ Manual หรือ Auto ก็ได้
  2. มาตรฐาน SOLAS – เป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงที่สุด ซึ่งมักจะใช้สำหรับกรณีที่ต้องอยู่ในแวดล้อมที่อันตรายระดับหนึ่ง เช่นบนเรือขนส่งสินค้า หรือเรือขุดเจาะน้ำมัน โดยเสื้อชูชีพที่อยู่ในมาตรฐานนี้จำเป็นจะต้องมี 150 นิวตันขึ้นไป และต้องเป็นแบบ Auto ที่มีกระบอกแก๊สถึง 2 อัน

โดย Lalizas จะมีเสื้อชูชีพทั้ง 2 มาตรฐานนี้ และมีหลายรุ่นให้เลือก ในแต่ละรุ่นก็จะมีวัตถุประสงค์การใช้ที่แตกต่างกัน เช่น รุ่น Theta Omega หรือ Lamda มักจะถูกใช้สำหรับงานเฉพาะเช่น สำหรับเรือขุดเจาะน้ำมัน หรือเรือขนส่งสินค้า ส่วนรุ่น Sigma และรุ่น Alpha มักจะใช้โดยนักกีฬาทางน้ำ หรือคนที่มีเรือส่วนตัว ซึ่งรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจะเป็นรุ่น Sigma เนื่องด้วยรูปทรงที่โค้งตรงคอปก ทำให้ให้เข้ากับสรีระได้ดี

แรงลอยตัวของแต่ละรุ่นก็จะไม่เหมือนกัน โดยรุ่น Sigma และ Alpha จะมีแรงลอยตัวอยู่ที่ 170 นิวตัน รุ่น Lamda และ Delta จะมีแรงลอยตัวอยู่ที่ 150 นิวตัน รุ่น Omega และ Theta จะมีแรงลอยตัวที่สูงที่สุดที่ 290 N ทำให้เหมาะกับการใช้ในน้ำลึก โดยเราสามารถดูความแตกต่างของเสื้อชูชีพพองลมแต่ละรุ่นของ Lalizas ได้ดังนี้

รายละเอียดเสื้อชูชีพพองลมแต่ละแบรนด์

นอกจากนี้เราก็ยังมี เสื้อชูชีพพองลมแบบกระเป๋า Lalizas Inflatable Lifejacket Belt-Pack Delta ที่นับได้ว่าเป็นหนึ่งในเสื้อชูชีพพองลมที่สวมง่ายและใส่สบายที่สุด แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ว่ามันจะต้องใช้เวลาในการดึงตัวชุดออกจากกระเป๋าเพื่อมาสวมไว้ที่คอ ซึ่งผู้ที่ใช้เสื้อชูชีพตัวนี้จะต้องว่ายน้ำเป็น และมีอายุมากกว่า 16 ปีขึ้นไป เพื่อให้มีการตัดสินใจที่ดีและใช้งานได้จริงในสถานการณ์ฉุกเฉิน

วิธีการใช้งาน เสื้อชูชีพพองลม แต่ละรูปแบบ

เสื้อชูชีพพองลมจะมาในรูปแบบเสื้อที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งจะไม่พองลมหรือมีแรงลอยตัวจนกว่าจะเริ่มการใช้งาน โดยในการใช้งานเสื้อชูชีพพองลม ก่อนอื่นเราจะต้องสวมเสื้อชูชีพไว้กับตัวตามคู่มือการใช้งานที่มีมาให้ จากนั้นเมื่อตกน้ำหรือต้องการใช้งาน เพียงแค่กระตุกเชือกของเสื้อชูชีพพองลม เสื้อชูชีพก็จะเริ่มทำการปล่อยลมให้พร้อมใช้งาน หากเป็นเสื้อชูชีพแบบ Auto ก็จะมีเชือกสำหรับกระตุกเพื่อพองลมเช่นกัน แต่เมื่อเสื้อชูชีพโดนน้ำหรือความชื้นตัวเสื้อก็จะพองลมด้วยตัวเอง ในกรณีที่กลไกการพองลมของเสื้อชูชีพทั้ง 2 แบบทำงานผิดปกติ เราสามารถเป่าเสื้อชูชีพได้ด้วยตัวเองโดยการเป่าลมเข้าไปที่ท่อเป่าลม เราสามารถเป่าลมเข้า และออกตามที่ต้องการเพื่อปรับความหนาของเสื้อได้ และเมื่อใช้งานเสื้อเสร็จ เพียงแค่เป่าลมออกด้วยท่อเป่า แล้วพับเก็บเข้าที่ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

ตัวอย่างการทำงานของเสื้อชูชีพพองลม

วิธีการดูแล และเก็บรักษาเสื้อชูชีพพองลม

การเก็บรักษาให้ถูกวิธีจะช่วยให้ใช้งานได้นานขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังสามารถมั่นใจในคุณภาพได้ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน โดยเสื้อชูชีพแบบพองลมควรเก็บไว้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรเก็บไว้ในที่ร้อนจัด เย็นจัด หรือมีความชื้นสูง เพราะอาจทำให้แก๊สขยายตัวหรือเกิดการทำงานอัตโนมัติเนื่องจากความชื้นได้ นอกจากนั้นแล้วยังทำให้แก๊สเสื่อมสภาพทำงานได้ไม่เต็ม ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรงเพื่อป้องกันการซีดจางและเสื่อมสภาพ นอกจากนี้ เสื้อชูชีพควรทำให้แห้งสนิทก่อนเก็บเพื่อป้องกันเชื้อราและราดำ หากดูแลรักษาอย่างดี เสื้อชูชีพสามารถอยู่ได้นาน ถึง 10 ปี นับจากวันผลิต

นอกจากการเก็บรักษาที่ดีแล้ว เสื้อชูชีพพองลมนั้นจะต้องส่งสถานีบริการตรวจทดสอบทุกๆ 1 ปี ไม่ว่าคุณจะใช้งานมันแล้วหรือยังไม่ได้ใช้งานก็ตาม เพื่อให้เสื้อสามารถทำงานได้อย่างปกติและยังคงเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือการใช้งานในภายหลัง โดยอะไหล่เสื้อชูชีพพองลมจะต้องถูกเปลี่ยนหลังจากการใช้งานทุกครั้ง หรือ 3 ปีหลังจากวันที่ผลิต จึงควรตรวจสอบวันที่ผลิตเสมอ ซึ่งอะไหล่ที่จะต้องเปลี่ยนในแต่ละครั้งก็จะมี กระบอกแก๊ส ที่ตรวจจับน้ำ และ สลัก ซึ่งทาง Lalizas ก็จะมีอะไหล่ทั้งแบบแยก และแบบชุด เพื่อให้สะดวกในการเปลี่ยน

อะไหร่สำหรับเสื้อชูชีพพองลม

ขั้นตอนการตรวจสอบเสื้อชูชีพพองลมแบบเบื้องต้นด้วยตัวเอง

  1. ตรวจสอบเสมอว่ากระบอกแก๊สของเสื้อชูชีพพองลมนั้นเต็ม ไม่เสียหาย และขันสกรูติดกับเสื้อจนแน่นในตำแหน่งที่ถูกต้อง เราอาจจะใช้วิธีการชั่งน้ำหนักในการตรวจสอบแก๊สในกระบอกได้
  2. ตรวจสอบที่ตรวจจับน้ำ หรือ bobbine ว่าไม่ได้รับความเสียหาย เปียกชื้น หรือหมดอายุ และควรเปลี่ยนในทุกๆปีแม้ไม่ได้ใช้งาน
  3. ตรวจสอบว่าเสื้อชูชีพไม่มีรอยรั่ว โดยการเปิดที่ครอบเสื้อชูชีพออกมาแล้วสูบลมเข้าไป (ห้ามเป่าลมด้วยปากเพราะจะทำให้ภายในเสื้อชูชีพชื้นได้) เสื้อชูชีพควรจะอยู่ในสภาพเดิมถึง 24 ชั่วโมง และเมื่อตรวจสอบเสร็จก็ปล่อยลมออกจนหมดแล้วพับเก็บใส่ที่ครอบ
  4. ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต ด้านการใช้งานและดูแลรักษา

นอกจากตัวเสื้อชูชีพพองลม และอะไหล่สำหรับเสื้อชูชีพพองลมแล้ว ทาง Lalizas ของเราเองก็มีจำหน่ายไฟฉาย LED สำหรับติดบนเสื้อชูชีพอีกด้วย โดยไฟฉายนี้จะทำงานเมื่อโดนน้ำ และก็ยังมีปุ่มเปิด-ปิดที่ใช้งานสะดวกมากๆ อีกทั้งยังใช้ได้นานมากกว่า 8 ชั่วโมง ทนต่อสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงได้ดี

ไฟฉายสำหรับ เสื้อชูชีพพองลม

เสื้อชูชีพพองลม นั้นเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับนักกีฬาทางน้ำ ผู้ที่มีเรือส่วนตัว หรือผู้ที่ต้องการความปลอดภัยสูงสุด  ถึงแม้จะมีราคาสูงและต้องดูแลรักษามากกว่าเสื้อชูชีพแบบโฟม แต่ข้อดีของมันนั้นคุ้มค่าในการลงทุนมากๆ และหากคุณกำลังมองหาเสื้อชูชีพพองลมที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และใช้งานง่าย หรือสินค้าต่างๆเกี่ยวกับเรืออยู่ คุณสามารถแวะมาดูสินค้าของเราได้ที่ Lalizas Thailand และ GTM Marine Phuket หรือทักมาสอบถามได้ที่ Line: @gtmmarine

Similar Posts